คฤหาสน์ตระกูลนักรบคาคุโนะดาเตะ

มาย้อนเวลาไปกับ “เกียวโตจิ๋วแห่งมิจิโนะคุ”

 คฤหาสน์ตระกูลนักรบคาคุโนะดาเตะ
คะคุโนะดะเทะเป็นเมืองรอบปราสาทที่เคยเจริญรุ่งเรืองในสมัยเอโดะและได้รับฉายาว่า ""เกียวโตจิ๋วแห่งมิจิโนะคุ"" โดยภายในพื้นที่เล็กๆ รัศมี 2 กม. มีสิ่งก่อสร้างตั้งแต่สมัยโบราณหลงเหลืออยู่จำนวนมาก เช่น คฤหาสน์ซามูไร จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติแห่แหนกันมาเพื่อชมเมืองอันงดงามแบบย้อนยุค ถนนเส้นหลักที่ตัดผ่านระหว่างกลุ่มคฤหาสน์ซามูไรได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นเขตอนุรักษ์กลุ่มสถาปัตยกรรมดั้งเดิมสำคัญของญี่ปุ่นและได้รับการอนุรักษ์เป็นสมบัติทางวัฒนธรรม
คุณสามารถเยี่ยมชมคฤหาสน์ซามูไรของจริงจำนวนมากได้ เช่น “คฤหาสน์อิชิกุโระ” “หมู่บ้านประวัติศาสตร์คะคุโนะดะเทะ คฤหาสน์อาโอยางิ” “คฤหาสน์อิวาฮาชิ” “คฤหาสน์มัตสึโมโตะ” “คฤหาสน์คาวาราดะ” ในบรรดานั้นมีคฤหาสน์ที่ยังใช้เป็นบ้านที่อยู่อาศัยแม้ในปัจจุบันนี้ด้วย บริเวณโดยรอบมีร้านให้เช่าชุดกิโมโนอยู่หลายแห่งจึงขอแนะนำให้เปลี่ยนไปสวมชุดกิโมโนโบราณแล้วไปเดินเล่น การเดินเล่นท่ามกลางบ้านเมืองที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายแบบญี่ปุ่นในชุดกิโมโนจะทำให้รู้สึกเหมือนได้ย้อนเวลากลับไปอย่างไม่ต้องสงสัย แล้วจะยิ่งรู้สึกเช่นนั้นมากขึ้นเมื่อนั่งรถลากตระเวนไปตามถนนหนทางจาก “พิพิธภัณฑ์ศิลปะหัตถกรรมจากเปลือกไม้ซากุระ”
มีกลิ่นอายที่แตกต่างไปตามฤดูกาลทั้งสี่ไม่ว่าจะเป็นซากุระ ใบไม้เขียวชอุ่ม ใบไม้เปลี่ยนสี หรือวิวหิมะ แต่โด่งดังเป็นพิเศษในฐานะเป็นจุดชมซากุระชื่อดังและจะมีผู้คนมากมายมากันอย่างคับคั่งตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนจนถึงต้นเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงเหมาะกับการชม สีซากุระของซากุระพันธุ์กิ่งย้อยที่สง่างามอยู่บนรั้วสีดำของคฤหาสน์ซามูไรนี้เป็นวิวธรรมชาติที่สวยงาม มีซากุระพันธุ์กิ่งย้อยเรียงรายกว่า 400 ต้นและ 162 ต้นในบรรดานั้นได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นอนุสรณ์ทางธรรมชาติของญี่ปุ่นอีกด้วย
ทำเลดีโดยใช้เวลาเดิน 15-20 นาทีจากสถานี JR คะคุโนะดะเทะ และ “คะคุโนะดะเทะเอกิมาเอะคุระ” อาคารสไตล์โกดังที่ตั้งอยู่หน้าสถานีได้กลายเป็นศูนย์แนะนำข้อมูลท่องเที่ยว ซึ่งการหยิบแผนที่หรือแผ่นพับนี้จะช่วยให้คุณเที่ยวได้สะดวกสบาย
ที่อยู่
秋田県仙北市角館町表町上丁~東勝楽丁
หมายเลขโทรศัพท์
0187-54-2700
เวลาเปิดทำการ
ราคา
เวลาที่จำเป็น
หมายเหตุ

เว็บไซต์ข้อมูลข่าวสารการเดินทางและการท่องเที่ยวโทโฮคุ “ท่องเที่ยวโทโฮคุ“

การพิมพ์