ตั้งอยู่บนที่ราบสูงอาบุคุมาโคจิทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดฟุคุชิมะ เป็นอุทยานธรรมชาติประจำจังหวัดที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ภูเขาเรียวเซ็นที่ระดับความสูง 825 เมตร ซึ่งพาดผ่านเมืองดาเตะและเมืองโซมะยอดเขาเรียวเซ็น ยอดเขาที่มีชื่อเสียงซึ่งถูกกำหนดให้เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของประเทศญี่ปุ่น เกิดจากภูเขาไฟระเบิดเมื่อประมาณ 35 ล้านปีก่อน จากนั้นกลุ่มหินบะซอลต์ก้อนใหญ่ก็ทำปฏิกิริยากับอากาศและถูกกัดเซาะด้วยลม จึงเกิดเป็นภูเขาหินรูปร่างเหมือนสัตว์ประหลาดที่เกิดจากหินภูเขาไฟที่ยากต่อการกัดกร่อนยืนตั้งเด่นตระหง่านโดยเฉพาะช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ดอกอาซาเลียผลิบานพร้อมกับต้นไม้ที่ผลิใบจนเขียวชอุ่ม และตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมไปจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นช่วงเวลาของใบไม้เปลี่ยนสี คุณจะได้เห็นสีสันของธรรมชาติตกกระทบบนผิวของหินรูปทรงแปลกประหลาดสะท้อนออกมาเป็นความงดงามสุดบรรยาย
■ คอร์สเดินป่า○เส้นทางตัวอย่าง1 *เดินรอบ 3 ชั่วโมงทางขึ้นเขา - โฮจุได - หินมิโอโรชิอิวะ - โคคุชิซาวะ - ลานซูโม่เท็นงู - ประตูโกมะดัน - โอยะชิราสุ/โคะชิราสุ - โกมะดัน - ซากปรักหักพังโคคุชิคัง - ซากปรักหักพังปราสาทเรียวเซ็น - หินฮิงาชิโมโนมิอิวะ - หินกาคุมงอิวะ - เดินแถวข้ามสันเขา - โบโยได - หินทะลุของโคโบ - หินเบนเทน - หินฮิกุราชิ - ประตูหินฮิกุราชิ - ลงจากเขา〇เส้นทางตัวอย่าง2 *เดินไปตามแนวยาวของภูเขา 5 ชั่วโมงทางขึ้นเขา - โฮจูได - หินมิโอโรชิอิวะ - หินฮิกุราชิ - หินเบนเทน - หินทะลุของโคโบ - โบโยได - หินกาคุมงอิวะ - หินฮิงาชิโมโนมิอิวะ - เซนนินซุย - โคอิวะ- โคคุชิซาวะ - ลานซูโม่เท็นงู - โกมะดัน - ซากปรักหักพังโคคุชิคัง - ซากปรักหักพังปราสาทเรียวเซ็น - ซากปรักหักพังศาลเจ้าฮิเอะ - ยอดเขาชิเมอิ - ลานตั้งแคมป์วาคุมิสุ โนะ ซาโตะ หรือซากปรักหักพังเรียวเซ็นคาคุ
■ ประวัติศาสตร์พระครูจิคาคุไดชิ หรือ ภิกษุเอ็นนิน ได้สร้างและเปิดทำการวัดเรียวเซ็นขึ้นในตอนต้นของสมัยเฮอัน กล่าวกันว่าในยุคที่มีความรุ่งเรืองสูงสุดนั้นมีวัดและกุฏิพระสงฆ์ถึง 3600 หลังถูกสร้างขึ้นบนภูมิประเทศที่มีความลาดชัน ซึ่งที่นี่มีบทบาทสำคัญเป็นดั่งศูนย์กลางของพุทธศาสนาบนภูเขาในแถบโอชูในปี ค.ศ. 1337 (ปีเอ็นเงนที่ 2 ) ในยุคสมัยนันโบะคุโจ “คิตาบาตาเกะ อากิอิเอะ” ได้สร้างปราสาทเรียวเซ็นเพื่อถวายแด่เจ้าชายโนริโยชิ (ต่อมาได้เป็นจักรพรรดิโกะมุราคามิ) แล้วทำการแต่งตั้งระบบการปกครองของแคว้นมุทสึ และได้ทำหน้าที่เป็นเมืองหลักที่ยิ่งใหญ่ของฝั่งนันโจในพื้นที่ภูมิภาคโออุจนกระทั่งล่มสลายในปี ค.ศ.1347 (ปีโชเฮที่ 2)